วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม

สรุปเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม



ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์

-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ

เรื่องย่อ นาย ประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

ข้อความสำคัญของจดหมาย

จดหมายฉบับที่ ๑ เรือโอยามะมะรูในทะเลแดง

-         การรักเมืองไทยเปรียบเหมือนรักพ่อแม่แต่การรักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย

-         การเต้นรำเหมือนชีวิตของฉัน เพื่อนๆเคยล้อว่าถ้าฉันไม่เต้นรำนานๆถึงปวดท้อง

-         การเต้นรำมาสู้สำคัญเท่าเรื่องที่ไม่ได้กอดผูหญิงนั่นแหละ ถ้าไม่มีการเต้นรำ เราจะวิ่งไปกอดเขาดื้อๆใครเขาจะยอม

-         ในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย

-         ฉันแทบอยากจะพาเอาลีลี่เข้าไปเสียด้วยแล้ว แต่นึกสงสารหล่อนที่จะต้องไปตกในหมู่คน อันศิวิไลช์จะทนทานไม่ไหว    อ่านต่อ....




วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์ 

เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตร
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด
คือ  กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม
ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง